วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

Camtasia Studio

Camtasia Studio 3 Introduction
โปรแกรม Camtasia Studio เป็นโปรแกรมที่ใช้สําหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหวการทํางานต่าง ๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยสามารถจับภาพหน้าจอได้หลายรูปแบบ เช่น จับภาพเต็มหน้าจอ หรือ จับภาพเฉพาะหน้าต่างตามขนาดที่เรากําหนดส่วนมากจะนิยมนําโปรแกรม Camtasia Studio มาใช้ในการสร้างบทเรียนแบบมัลติมีเดียเนื่องจากสามารถจับภาพหน้าจอ ใส่เสียงประกอบและใส่ Effect ให้กับชิ้นงานนั้นได้ ทําให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในตัวบทเรียนมากยิ่งขึ้น
ความต้องการของระบบ
- CPU ความเร็วไม่ต่ํากว่า550 MHz
- หน่วยความจํา128 MB (RAM)
- พื้นที่Hard disk ว่าง30 MB
- ไมโครโฟนและการ์ดเสียงรองรับWindow ทุกเวอร์ชั่น
ความต้องการในการดูงานที่สร้าง
- CPU ความเร็วไม่ต่ํากว่า90 MHz
- หน่วยความจํา16 MB (RAM) รองรับWindow ทุกเวอร์ชั่น
ไฟล์นามสกุลต่างๆที่สามารถใช้งานได้ในCamtasia Studio 3
- AVI video file (.AVI)
- Macromedia Flash (.SWF)
- Macromedia Flash Video (.FLV)
- Quicktime (.MOV)
- Windows Media (.WMV)
- RealMedia (.RM)
- Camtasia for RealPlayer (.CAMV)
- Gif Animation file (.GIF)
แนะนําการเลือกใช้ไฟล์วิดีโอ
Internet / Intranet
- Macromedia Flash (.SWF)
- Windows Media (.WMV - Streaming Media)
CD
- Audio Video Interleave (.AVI)
DVD
- Audio Video Interleave (.AVI)
- DVD Productions โดยใช้ซอฟท์แวร์DVD-authoringแปลงเป็นรูปแบบMPEG
ส่วนประกอบต่างๆ ภายในโปรแกรม Camtasia Studio3
Task List
Clip Bin
Preview Area
Time line
Task List
Record the Screen คือการสั่งจับภาพวิดีโอโดยจะเรียกใช้เครื่องมือCamtasia Recorder ขึ้นมา
Import
จะมีคําสั่งสําหรับนําเข้าไฟล์วิดีโอ,เสียงและรูปภาพเข้ามาในโปรเจค
Improt Video นําเข้าไฟล์วิดีโอ
Import Audio นําเข้าไฟล์เสียง
Import Imagesนําเข้าไฟล์รูปภาพ
Edit
กลุ่มEdit จะมีคําสั่งเกี่ยวกับการปรับแต่งไฟล์วิดีโอและเพิ่มเอฟเฟคให้กับวิดีโอ
Voice narration ใช้อัดเสียงบรรยายลงไปในวิดีโอ
Picture-in-Picture(PIP) ใช้จับภาพจากกล้องวิดีโอ
Transition ใส่เอฟเฟคระหว่างคลิป
Callouts ใส่คําอธิบายลงไปในวิดีโอ
Zoom-n-Pan ซูมพื้นที่ของวิดีโอ
Title Clips ใส่ไตเติลข้อความหรือรูปภาพก่อนแสดงวิดีโอ
Flash Quiz สร้างแบบทดสอบแฟลช
Produce
มีคําสั่งเกี่ยวกับการสร้างไฟล์วิดีโอที่เป็นผลลัพธ์และสร้างวิดีโอในรูปแบบซีดีหรือเว็บเมนู
Produce video as…. ใช้สร้างไฟล์วิดีโอที่เป็นผลลัพธ์
Create CD menu… ใช้สร้างวิดีโอในรูปแบบซีดี
Create Web menu… ใช้สร้างเว็บเมนู
Camtasia Studio Tips
จะมีคําแนะนําการใช้งานเมื่อคลิกเลือกรายการใดโปรแกรมจะเปิดวินโดวส์help ขึ้นมาให้ดูรายละเอียดการใช้งาน
Clip Bin
Clip Bin เป็นส่วนที่ใช้แสดงไฟล์วิดีโอ, ไฟล์รูปภาพและไฟล์เสียงที่นําเข้ามาในโปรเจค
ไฟล์วิดีโอ
ไฟล์เสียง
Preview Area
ส่วนPreview area เป็นส่วนที่ใช้แสดงตัวอย่างไฟล์ที่นําเข้ามาและใช้แสดงตัวอย่างไฟล์โปรเจคที่กําลังทํางานอยู่
Time Line
- Timeline Toolbar เป็นส่วนที่ใช้ในการทํางานกับไฟล์ที่อยู่บนแถบTimeline เช่นZoom out , Zoom in , ตัดไฟล์, แยกไฟล์, เปลี่ยนมุมมองเป็นแบบStory Board , ปรับเสียงหรือเพิ่มแทร็คการทํางาน
- Timeline view ส่วนนี้แสดงเรื่องราวของวิดีโอที่เรากําลังทํางานซึ่งประกอบไปด้วยภาพและเสียง
เมนูต่างๆที่สําคัญในการใช้งาน
เมนู File ประกอบไปด้วยเมนูย่อยซึ่งมีหน้าที่ต่างกันดังนี้
- New Project = ใช้สําหรับสร้างโครงงานใหม่
- Open Project = เปิดไฟล์ที่ได้สร้างไว้แล้ว
- Save Project = ใช้จัดเก็บโครงงานที่ได้ทําขึ้นใหม่ในกรณีที่โครงงานไม่เคยได้มีการจัดเก็บไว้ก่อนโปรแกรมจะให้ตั้งชื่อของโครงงาน
- Save As = ใช้จัดเก็บโครงงานที่ได้ทําขึ้นโดยให้ตั้งชื่อของโครงงานทุกครั้ง
- Export Project as zip = ใช้บีบอัดไฟล์โปรเจคเป็นzip file
- Import Zipped Project = นําเข้าไฟล์โปรเจคที่zip ไว้
- Record the screen = ใช้บันทึกภาพโดยเรียกใช้Camtasia Recorder
- Import Media = การนําสื่อต่างๆเขามาใช้งานเช่นไฟล์วีดีโอ,รูปภาพ,เสียงเป็นต้น
- Produce video as = ใช้สร้างไฟล์วิดีโอที่เป็นผลลัพธ์
- Exit = ออกจากโปรแกรม
เมนูEdit ประกอบไปด้วยเมนูย่อยซึ่งมีหน้าที่ต่างกันดังนี้
- Undo = ย้อนหลังการทํางาน1 ครั้ง
- Redo= กลับไปการทํางานก่อนหน้านี้
- Add to Timeline = เพิ่มไฟล์ในแถบTimeline
- Add to PIP =เพิ่มไฟล์ในแถบPicture-in-Picture
- Split = ใช้แยกไฟล์มีเดียบนTimeline
- CutSelection = ใช้ในการตัดสื่อในตําแหน่งที่ต้องการ
- Add a Marker = สร้างตัวมาร์กเกอร์
- Split at all Marker = ทําการแยกไฟล์ออกจากกันในทุกๆตําแหน่งที่มีมาร์กเกอร์\
- Voice Narration = บันทึกเสียงบรรยายลงไปในวิดีโอ
- Picture-in-Picture = ใช้บันทึกภาพจากกล้อง
- Transition = ใช้สร้างเอฟเฟคระหว่างคลิป
- Callouts = ใช้สร้างคําอธิบายแทรกในวิดีโอ
- Zoom-n-Pan = ใช้ซูมพื้นที่ในวิดีโอ
- Title Clips =ใช้สร้างไตเติล
- Flash Quiz = ใช้สร้างแบบทดสอบแฟลช
เมนูView ประกอบไปด้วยเมนูย่อยซึ่งมีหน้าที่ต่างกันดังนี้
- Storyboard = เปลี่ยนสถานการณ์ทํางานไปที่แบบStoryboard
- Timeline =เปลี่ยนสถานการณ์ทํางานไปที่แบบTimeline
- Task List = ซ่อน/ แสดง Task List
- Toolbar = ซ่อน/ แสดงToolbar
- Status Bar = ซ่อน/ แสดงStatus Bar
- Full Screen = ปรับขนาดหน้าจอPreview Area แบบเต็มหน้าจอ
- Shrink To Fit = ปรับขนาดหน้าจอPreview Area แบบย่อ
- Zoom In = ขยายขนาดของTimeline
- Zoom Out = ย่อขนาดของTimeline
- Zoom To Fit = ค่าTimeline ที่เหมาะสมอัตโนมัติ
- Clip Bin = ใช้ปรับประเภทการแสดงไฟล์และจัดเรียงไฟล์ใน Clip Bin
เมนูTools ประกอบไปด้วยเมนูย่อยซึ่งมีหน้าที่ต่างกันดังนี้
- Camtasia Recorder = เรียกใช้งานCamtasia Recorder เพื่อบันทึกภาพหน้าจอ
- Camtasia MenuMaker = เรียกใช้งานCamtasia MenuMaker เพื่อใช้สร้างเมนูของแผ่นซีดีเพื่อเรียกเปิดไฟล์วิดีโอ
- Camtasia Audio Editor = เรียกใช้งานCamtasia Audio Editor เพื่ออัดเสียงและปรับแต่งเสียง
- Camtasia Theater = เรียกใช้งานCamtasia Theater เพื่อสร้างเว็บเมนูเพื่อนําไปใช้บนเว็บไซต์
- Camtasia Player = ใช้สําหรับเปิดเล่นไฟล์วิดีโอ
- Options = ใช้ปรับค่าคุณสมบัตของCamtasia Studio
เมนูPlayประกอบไปด้วยเมนูย่อยซึ่งมีหน้าที่ต่างกันดังนี้
- Play/Pause = เล่น/หยุดชั่วขณะวีดีโอที่แสดงในPreview Area
- Stop = หยุดเล่นวิดีโอที่แสดงในPreview Area
- Beginning = กลับไปยังตําแหน่งเริ่มต้นของวิดีโอบนTimeline
- End = กลับไปยังตําแหน่งสุดท้ายของวิดีโอบนTimeline
- Previous Clip= เล่นClip ก่อนหน้านี้
- Next Clip = เล่นClip ถัดไป
- Step Forward = เลื่อนตําแหน่งบนTimeline ไปข้างหน้า
- Step Backward = เลื่อนตําแหน่งบนTimeline ไปด้านหลัง
เมนูHelpประกอบไปด้วยเมนูย่อยซึ่งมีหน้าที่ต่างกันดังนี้
- Camtasia Studio Help = คู่มือการใช้งานCamtasia Studio
- About Camtasia Studio = Version ของCamtasia Studio และรายละเอียดของผลิตภัณฑ์
การใช้งานโปรแกรมCamtasia Studio 3
1. สร้าง Folderไว้สําหรับเก็บงานที่เราจะผลิตด้วยโปรแกรม Camtasia Studio 3 ขึ้นมา ในที่นี้ตั้งชื่อ Folder ว่าTCU
2. เข้าสู่โปรแกรม Camtasia Studio 3 โดยการคลิกที่ปุ่ม Start / All Programs / Camtasia Studio 3 / Camtasia Studio หรือดับเบิ้ลคลิกเข้าสู่โปรแกรมได้ที่ไอคอนCamtasia Studio 3 บนหน้าDesktop
3. เมื่อเปิดโปรแกรม Camtasia Studio 3 ขึ้นมาแล้ว จะปรากฏหน้าจอถามว่าคุณต้องการสร้างงานในรูปแบบไหน ให้คลิกเลือก Start a new project by recording the screen จะเป็นการบันทึกภาพวิดีโอใหม่แล้วกดok จากนั้นจะปรากฏหัวข้อให้เราเลือกขนาดหน้าจอการบันทึกภาพให้เลือกที่Entire Screen จะเป็นการจับภาพทั้งหน้าจอแล้วคลิกNext แล้วจะปรากฏหัวข้อให้เราเลือกว่าต้องการบันทึกเสียงด้วยหรือไม่หรือต้องการจับภาพจากกล้องวิดีโอหรือไม่ในที่นี้จะยังไม่เลือกข้อใดแล้วคลิกNext ต่อมาจะมีรายละเอียดวิธีการจับภาพวิดีโอขึ้นมาโดยถ้ากดที่ปุ่มF9 บนคีย์บอร์ดจะเป็นการเริ่มจับภาพ ถ้ากดอีกครั้งจะเป็นการหยุดบันทึกชั่วขณะและถ้ากดที่ปุ่มF10 จะเป็นการหยุดการบันทึกภาพเมื่อทราบเงื่อนไขที่โปรแกรมกําหนดแล้วให้ทําการคลิกFinish
4. Camtasia Recorder จะปรากฏขึ้นมาให้เรากดที่F9 เพื่อทําการบันทึกภาพวิดีโอบนหน้าจอได้เลยในที่นี้จะสาธิตการจับภาพวิธีการเรียกใช้งานโปรแกรมPhotoshop เมื่อบันทึกภาพได้แล้วให้กดF10 บนคีย์บอร์ดก็จะปรากฏหน้าPreview ขึ้นมาให้เราดูให้เราเลือกที่save จากนั้นให้เลือกที่จัดเก็บไฟล์วิดีโอไว้ในโฟล์เดอร์TCU ที่สร้างไว้แล้วตั้งชื่อไฟล์และคลิกsave จะมีหัวข้อขึ้นมาให้เลือกคือ
- แก้ไขไฟล์วิดีโอที่บันทึกเมื่อสักครู่
- Produce วิดีโอ
- กลับไปบันทึกวิดีโอไฟล์ใหม่
ให้เลือกข้อแรกแล้วคลิกOK
โปรแกรมCamtasia Studio จะเปิดขึ้นมาพร้อมกับไฟล์วิดีโอที่ได้ทําการบันทึกไปเมื่อสักครู่ที่โฟลเดอร์ที่เราสร้างขึ้นจะปรากฏไฟล์วิดีโอที่เราได้บันทึกขึ้นมา
การนําเข้าไฟล์มีเดียสามารถนําเข้าไฟล์มีเดียได้3 ประเภทคือ
- ไฟล์วิดีโอ
- ไฟล์เสียง
- ไฟล์รูปภาพ
- นําเข้าไฟล์วิดีโอ
ให้เลือกที่คําสั่งImport video ที่Task List จากนั้นเลือกที่ไฟล์วิดีโอที่ต้องการแล้วคลิกOpen ที่Clip Bin จะปรากฏไฟล์ขึ้นมาที่Camtasia Recording Fileให้สามารถนําไปใช้งานได้
นําเข้าไฟล์เสียง
ให้เลือกไปที่คําสั่งImport Audio จากนั้นเลือกที่ไฟล์เสียงแล้วกดOpen ที่Clip Bin จะปรากฏไฟล์เสียงที่เลือกขึ้นมาที่Audio
นําเข้าไฟล์รูปภาพ
ให้เลือกที่คําสั่งImport Images จากนั้นให้เลือกไฟล์รูปภาพที่ต้องการแล้วคลิกopen ไฟล์รูปภาพก็จะเพิ่มเข้าไปในClip Bin ที่ส่วนImages
การปรับแต่งมีเดีย
การเพิ่มไฟล์ลงในTimeline
ให้คลิกเลือกที่ไฟล์วิดีโอเสียงหรือรูปภาพที่ต้องการค้างไว้จากนั้นให้ลากเมาส์ลงมาบนแถบ Timeline โดยให้ปรากฏรูปลูกศรขึ้นที่เมาส์แล้วจึงปล่อยเมาส์ที่ได้คลิกค้างไว้ไฟล์ตัวดังกล่าวจะถูกเพิ่มไปบนTimeline คลิกเมาส์ค้างไว้ที่ไฟล์แล้วลากไปวางที่แถบ Timeline
การลบไฟล์ออกจากTimeline
ให้คลิกขวาที่ไฟล์มีเดียที่อยู่บนแถบTimeline จากนั้นเลือกที่คําสั่งDelete From Timeline
การเพิ่มEffectระหว่างClip
ให้เพิ่มคลิปวิดีโอลงไปบนแถบTimeline อย่างน้อย2 คลิปขึ้นไปจากนั้นเลือกที่คําสั่งTransitions ที่Edit จะปรากฏส่วนที่ใช้แสดงEffect ขึ้นมาให้คลิกเลือกEffect ที่ต้องการค้างไว้แล้วลากไปวางที่กล่องลูกศรด้านล่างที่อยู่ระหว่างคลิปคลิกเมาส์ค้างไว้ที่แล้วลากไปวางที่กล่องลูกศรเมื่อมาคลิกดูที่Preview Area ช่วงระหว่างที่จะเปลี่ยนคลิปวิดีโอนั้นจะเปลี่ยนโดยใช้Effect ที่เลือกจากนั้นให้คลิกที่Finish
การเพิ่มคําอธิบายในวิดีโอ
ให้เพิ่มคลิปวิดีโอไปบนแถบTimeline แล้วให้เลือกตําแหน่งที่ต้องการเพิ่มคําอธิบายบนTimeline โดยให้เลื่อนตําแหน่งSeek bar (ลูกศรสีเขียว) ไปยังตําแหน่งที่ต้องการจากนั้นเลือกที่คําสั่งCallouts ที่Edit เมื่อคลิกเข้ามาแล้วจะปรากฏหน้าใหม่ขึ้นมาให้คลิกที่Add Callout ก็จะปรากฏหน้าจอให้เลือกและปรับคุณสมบัติต่างๆของตัวCallouts ขั้นแรกให้เลือกประเภทหลักและประเภทย่อยของCallout ก่อนขั้นต่อมาให้ใส่สีพื้นหลังและสีเส้นขอบของCallout เมื่อได้ลักษณะกรอบข้อความแล้วต่อมาให้ทําการปรับรายละเอียดข้อความที่จะใส่ลงไปได้แก่เลือกfont /เลือกขนาดตัวอักษร/ เลือกประเภทเช่นตัวหนา,ตัวเอียง/และเลือกตําแหน่งการวางตัวอักษรจากนั้นให้เข้าไปปรับขนาดกล่องข้อความที่อยู่ในPreview Area ให้พอดีกับจํานวนข้อความและเลื่อนไปยังตําแหน่งที่ต้องการให้ปรากฏคําอธิบายขึ้นมาสําหรับส่วนProperties เป็นส่วนที่ใช้ปรับตําแหน่งและความเข้มของกล่องข้อความจะไม่ทํากาปรับเปลี่ยนส่วนใดเมื่อปรับแต่งเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่OK ก็จะกลับมาที่หน้าแรกของCallout ถ้าต้องการเพิ่มก็ให้คลิกที่คําสั่งAdd Callout แต้ถ้าต้องการจะลบก็ให้คลิกเลือกที่กล่องแสดงรายละเอียดCallout ของตัวที่ไม่ต้องการแล้วคลิกที่คําสั่งRemove Selected Callout
*****ต้องระวังถ้าเลือกที่คําสั่งRemove all Callout จะเป็นการลบCallout ที่สร้างมาทั้งหมดจากนั้นให้คลิกที่Finish ก็จะเข้าสู่หน้าปกติของโปรแกรม
การProduce Video
ขั้นแรกให้เลือกที่คําสั่งProduce video as …. ที่ส่วนProduce จะปรากฏกล่องข้อความขึ้นมาให้คลิกที่ปุ่มNext จากนั้นจะมีประเภทของไฟล์ที่จะProduce ขึ้นมาให้เลือก4 ประเภทคือ
- AVI Video
- Flash Movies
- Window Media
- QuickTime Movies
ให้เลือกแบบFlash Movies แล้วกดNext ขั้นต่อมาให้เราปรับคุณภาพของไฟล์วิดีโอที่จะออกมาโดยให้ปรับจํานวนสีที่16 bit / ปรับอัตราการเล่นเฟรมที่20 เฟรมต่อวินาที/ และปรับคุณสมบัติของภาพไปที่High quality จากนั้นให้ปรับคุณภาพของเสียงโดยเลือกรูปแบบของMP3 และคุณสมบัติเสียงที่22 kHz ประเภท mono และอัตราเสียงที่32bitต่อวินาทีแล้วคลิกที่Next ขั้นต่อมาให้ปรับขนาดของวิดีโอในส่วนนี้ให้เลือกที่ข้อแรกคือขนาดใหญ่ที่สุดแล้วคลิกที่Next ต่อมาจะให้เลือกว่าต้องการที่จะใส่ลายน้ําลงไปในวิดีโอหรือไม่ไม่ต้องสนใจให้คลิกที่Next เลยโปรแกรมจะถามว่าเราต้องการสร้างสารบัญหรือดัชนีหรือไม่ให้คลิกเลือกแล้วกดที่Next จากนั้นให้ตั้งชื่อไฟล์และเลือกที่จัดเก็บไฟล์Produce แล้วให้กดที่Finish โปรแกรมจะเริ่มการProduce video เมื่อProduce เสร็จแล้วก็จะได้ไฟล์ที่เป็นแบบเว็บไซต์และโฟลเดอร์ไฟล์แฟลช